5 นักสตรีมเมอร์ชายต่างประเทศ คอนเทนต์ดี มีผู้ติดตามเยอะ
หนึ่งในความฝันของเด็กยุคใหม่ คงหนีไม่พ้นการเป็นเกมเมอร์หรือสตรีมเมอร์ อาชีพสุดฮอตที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากำลังมาแรงในปัจจุบัน ซึ่งไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่หลายคนก็ให้ความสนใจอาชีพนี้กันพอสมควรเพราะการเป็นสตรีมเมอร์นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เล่นหลายทางแม้จะอยู่ที่บ้านก็ตาม ทั้งจากค่าโฆษณาจากการชมคลิปบน Youtube และค่ายผู้พัฒนาเกม รวมไปถึงหากมีผู้ติดตามจำนวนมากก็จะเพิ่มอัตราการว่าจ้างจากผู้ให้บริการเกมต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นปัจจัยอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มความนิยมของช่องได้อีกมากทีเดียว อย่างไรก็ตาม ลองมาดูการจัดอันดับของทั้ง 5 นักสตรีมเมอร์ชาย ต่างประเทศ คอนเทนต์ดี มีผู้ติดตามเยอะ กันดีกว่าว่าใครจะได้รับความนิยมมากที่สุดจากในปีที่ผ่านมา
-
Felix Kjellberg (PEWDIEPIE)
หลายคนคงจำกันได้กับคลิปเกม Flappy Bird หรือเกมนกข้ามท่อ ที่ Felix Kjellberg นักเล่นเกมมืออาชีพหรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ พิวดีพาย “PEWDIEPIE” กับยอดผู้ติดตามบนช่อง Youtube มากกว่า 109 ล้านคน ที่เขาสตรีมไปได้ไม่นานก็เกิดกระแสอันโด่งดัง ทำให้หมู่นักเกมเมอร์หรือผู้ติดตามของเขาเล่นเกมที่ว่านี้อย่างถล่มทลาย จากข้อมูลเมื่อปี 2020 การเป็นนักสตรีมทำรายได้ให้กับเขาไปมากกว่า 15 ล้านเหรียญ ต่อปี หากคิดเป็นเงินไทยก็จะอยู่ที่ประมาณ 490 ล้านบาท ถือเป็นจุดสูงสุดในการเป็นนักสตรีมเมอร์เลยก็ว่าได้ แม้ในภายหลังจะเกิดเสียงวิพากวิจารณ์มากมาย จากการที่เขาออกมาโพสต์คลิปที่มีเนื้อหาต่อต้านชาวยิวและสนับสนุนการกระทำของอดอล์ฟฮิตเลอร์ถึงจำนวน 9 ครั้ง และไม่มีท่าทีปฏิเสธในความรับผิดชอบแต่อย่างใด
-
Tyler Blevins (Ninja)
สายเกมเมอร์น่าจะต้องรู้จักเขาเป็นอย่างดี Tyler Blevins หรือฉายา “Ninja” เป็นชื่อที่เขาใช้บนโซเชียลต่าง ๆ ปัจจุบันเขามีผู้ติดตามบนช่อง Youtube มากกว่า 24 ล้านคน เขาโด่งดังมาจากการเป็นเกมเมอร์ที่ส่วนใหญ่จะเน้นเล่นเกมแบบถ่ายทอดสดมากกว่า โดยการเป็นนักสตรีมเมอร์นั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับเขาประมาณ 500,000 เหรียญ หรือ ถ้าคิดเป็นเงินไทยประมาณ 16 ล้านบาทต่อเดือน รวมรายได้ต่อปี 2020 จะอยู่ที่ประมาณ 17 ล้านเหรียญ หรือราว ๆ 560 ล้านบาท Fortnite และ PUBG เป็น 2 เกมใหญ่ที่ Ninja จะเน้นสตรีมในช่อง การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาในปี 2019 เขาย้ายสังกัดการถ่ายทอดสดจาก Twitch ไปอยู่กับค่าย Mixer ที่มีมูลค่าสัญญาสูงถึง 50 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,530 ล้านบาท
-
Preston Arsement (Preston)
เมื่อปี 2009 กับอายุเพียง 15 ปี ของ Preston Arsement หรือเจ้าของช่อง “Preston” ที่เริ่มมีช่องบน Youtube เป็นของตัวเองครั้งแรก จุดเริ่มต้นของการมีชื่อเสียงในแวดวงเกมเมอร์นั้นมาจากการที่เขาเลือกเกม Call of Duty มาสตรีมจนกลายเป็นที่นิยมในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนอกจากการเล่นเกมแล้วเขาก็มีคอนเทนต์อื่น ๆ ให้ผู้ติดตามรับชมด้วย เช่น คอนเทนต์แผลง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากการเป็นนักยูทูบเบอร์ เขายังเป็นนักทำเงินมือฉมังจากเกม Minecraft ที่ทำเงินไปได้ถึง 7 หลัก รวมไปถึงการผลิตช่องยูทูปใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องที่มีจำนวนมากถึง 6 ช่อง หากถามถึงรายได้เมื่อปี 2020 นั้นทำเงินให้เขาไปไม่น้อยเลยเพราะตกอยู่ที่ 14 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 460 ล้านบาท
-
Mark Fischbach (Markiplier)
เมื่อปี 2012 คือจุดเริ่มต้นของมีช่องบน YouTube ของ Mark Fischbach โดยเขาใช้ชื่อว่า
“Markiplier” ในตอนนั้นเขาเป็นเพียงนักศึกษาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ แต่ก็มีความสนใจในเรื่องของการเป็นนักเล่นเกมมืออาชีพและหันมาเอาดีทางด้านการพากย์เสียงระหว่างเล่นเกม PS4 จนมีผู้ติดตาม 22.4 ล้านคน ทำยอดวิวไปมากกว่า 1 หมื่นล้านวิว สาเหตุของความนิยมคงหนีไม่พ้นการเอนเตอร์เทนต์ระหว่างการพากย์ เล่นใหญ่รัชดาลัยที่เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขาเลยก็ว่าได้
-
Michael Grzesiek (Shroud)
Michael Grzesiek หรือชื่อในวงการเกมเมอร์อย่าง “Shroud” สุดยอดผู้เล่นเกมแนว FPS เบอร์ต้น ๆ ของโลก จุดเริ่มต้นของการเป็นนักสตรีมเกมของเขาเกิดขึ้นเมื่อปี 2011 ที่ในช่วงแรกเขาถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องดูการเล่นของตัวเองเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี โดยที่แทบจะไม่มีใครเข้ามาดู แถมในอดีตยังเคยถูกปฏิเสธการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Twitch มากถึง 3 ครั้ง แต่ด้วยความที่อยากให้ฝันเป็นจริง จึงพยายามอย่างหนักและไม่ย่อท้อกับเส้นทางที่เลือก จนในท้ายที่สุดก็ประสบความสำเร็จในสายเกมเมอร์ และในปี 2019 เขายังย้ายสังกัดการถ่ายทอดสดจาก Twitch ไปอยู่กับค่าย Mixer ที่มีมูลค่าสัญญา กว่า 40 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 1,260 ล้านบาท
ความนิยมในการสตรีมขยายวงกว้างออกไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขอบเขตของการสตรีมเกมนั้นไม่ได้ถูกจำกัดแต่ว่าต้องเป็นการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทักษะในการเอนเตอร์เทนคนดู ที่ต้องสอดแทรกไปพร้อม ๆ กับการเล่าเรื่องเนื้อหาของตัวเกมด้วย เป็นโจทย์ที่ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับเจ้าของช่องได้ การสตรีมถือเป็นศิลปะในการพูดอย่างหนึ่งที่ถ้าหากเจ้าของช่องหรือนักสตรีมเมอร์ทำได้ก็จะเพิ่มจำนวนผู้ติดตามที่มากขึ้นได้ นั่นก็หมายความว่าโอกาสที่จะสร้างรายก็จะมากตามไปด้วย
“Ninja” อดีตพนักงานฟาสต์ฟู้ด สู่สตรีมเมอร์จับเงินล้าน
การค้นพบตัวเองได้เร็วไปพร้อมกับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ทำให้อดีตพนักงานฟาสต์ฟู้ดอย่าง Tyler Blevins บุคคลที่แทบไม่มีใครรู้จักนอกจากเพื่อนฝูง ประสบความสำเร็จในเส้นทางที่ตัวเองชอบจนได้กลายเป็นนักสตรีมที่มีรายได้สูงถึง 17 ล้านเหรียญ หรือหากคิดเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 560 ล้านบาท ทั้งหมดนี้คือรายได้ภายในปี 2020 เท่านั้นว่าแต่เขาทำได้อย่างไรทั้งที่อายุยังไม่แตะเข้าเลข 3 เลยด้วยซ้ำ การเริ่มต้นของการเป็นนักสตรีมเริ่มมาจากจุดไหน แล้วประสบความสำเร็จกับเส้นทางที่ใช่จนมีเงินเป็นกอบเป็นกำ ถึงขั้นร่ำรวยได้อย่างไร มาค้นหาตัวตนของเขากันได้ภายในบทความนี้
จุดเริ่มต้นการเป็นนักสตรีมเมอร์ของ Tyler Blevins หรือฉายาในวงการ “Ninja” เกิดจากการซึมซับจากพ่อและพี่ชายเป็นคอเกม Console Game รุ่นใหม่ ๆ ที่เขามักจะได้เล่นทันทีเมื่อมีการวางขายมาตั้งแต่เด็ก ๆ เรียกได้ว่ามีเกมอะไรใหม่ ๆ เขาก็มักจะได้เล่น จากคำบอกเล่าของพี่ชายทั้ง 2 คนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เขาเล่นเกมเก่งมากและเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มีแววจะเป็นเซียน Video Game ในอนาคต โดยการรันตีจากชนะผู้เข้าแข่งขันอย่างขาดลอยในการแข่งขันเกม Halo 3 เมื่อปี 2009 เป็นครั้งแรก
ความสำเร็จจากการตระเวนแข่งเกมต่าง ๆ ทำให้เขาตัดสินใจลาออกทั้งโรงเรียนและร้านฟาสต์ฟู้ดอาหารเส้น Noodles & Company ที่ได้ทำงานอยู่ในตอนนั้น เพื่อทุ่มเวลาให้กับการเป็นนักสตรีมเมอร์หรือการถ่ายทอดสดเล่นเกมอย่างเต็มตัว โดยมีครอบครัวคอยสนับสนุนและอยู่เคียงข้างในทุกการตัดสินใจ จากนั้นจนถึงปัจจุบันความสำเร็จและชื่อเสียงของ Tyler Blevins สร้างรายได้จากการเป็นนักเล่นเกมมืออาชีพที่ทำคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้งการถ่ายทอดสดในการเล่นเกม ทำอาหาร ฯลฯ โดยรวมเฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยก็ตกอยู่ประมาณ 30 ล้านบาท ผ่าน Game Steaming บวกกับการเป็น Brand Endorser ให้สินค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น รองเท้าแบรนด์ Nike ที่ทำออกมาเจาะกลุ่มเกมเมอร์โดยเฉพาะ รวมไปถึงหนังสือเคล็ดลับความสำเร็จในวงการ Game Streamer ต่าง ๆ อีกด้วย
ref.